มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานวิจัยในทุกศาสตร์ งานวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยในมนุษย์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ งานวิจัยและการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่อสัตว์ ความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึงความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย ตามกฎหมายไทยและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จึงให้การสนับสนุนการทำงานวิจัยของบุคลากร มก. และนิสิต โดยแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการวิจัยด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่พิจารณาให้การรับรองมาตรฐานการวิจัย ร่วมกับฝ่ายมาตรฐานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้คำแนะนำและประสานการขอรับรอง (โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขอรับการรับรอง) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่งานวิจัย อีกทั้งยังคงประโยชน์ในการเสนอขอกำหนดตําแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ ก.พ.อ. และการตีพิมพ์/เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

เพื่อให้การดำเนินการวิจัยของบุคลากร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความถูกต้องตามมาตรฐานงานวิจัยและหลักจริยธรรม ธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี สิทธิ และความปลอดภัยของอาสาสมัคร ตามแนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (มคจค.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ของสภาองค์การสากลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (CIOMS Guidelines) รายงานเบลมองต์ (Belmont Report) แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยที่ดีขององค์การอนามัยโลกและองค์การสากลเพื่อสร้างความประสานสอดคล้อง (International Conference on Harmonization : ICH) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงมีระเบียบและแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยข้อกำหนดและแนวทางการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2565
  • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยในมนุษย์

https://sites.google.com/ku.th/kurec/Home

By admin